วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย
เรื่อง 
ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อพัฒนาการของพฤตกรรมด้านสังคม 
ของเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยที่มีความตองการพิเศษในห้องเรียนรวม 

การสร้างคนคือการสร้างชาติ การสร้างคนให้มีคุณธรรมนําความรู้นั้น ต้องเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย

การมีความรู้ การเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมที่มีคุณภาพตั้งแต่วัยเด็ก จะเป็นรากฐานที่สําคัญของการเรียนรู้
ในวัยต่อมาและเป็นการเริ่มตนที่ดี การสร้างคนที่มีทั้งความดี ความเก่ง และมีความสุข เป็นคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการสําคัญที่ถือว่าเป็นรากฐานของการพัฒนาทางด้านสติปัญญา
แต่ถ้าหากเด็กมีความบกพร่องในการรับรู้แล้ว ก็จะบกพร่องในด้านของการเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย อุปสรรค
ของการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยเกิดจากสภาพความผิดปกติของร่างกาย
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการต่อพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปกติและ
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ


ความสําคัญของการวิจัย ผลจากการวิจัยครั้งนี้จะทําให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยที่มี
การเรียนร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อเป็นแนวทาง
สําหรับผู้ที่มีบทบาทในการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยรวมถึงผู้ที่มีความสนใจ นําไปใช้เป็นแนวทาง
ในการจัดการเรียนร่วมในระดับปฐมวัยต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่อยู่ในห้องเรียนร่วม จํานวน 30 คน โดยแบ่งเป็น
เด็กปฐมวัยปกติ ชาย – หญิง จํานวน 25 คน และเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ชาย – หญิง
จํานวน 5 คน อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2551 ของโรงเรียนเกษมพิทยา สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช่ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่อยู่ในห้องเรียนร่วม อายุระหว่าง 5-6 ปี
จํานวน 15 คน ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียน
เกษมพิทยา สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ซึ่งมีขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1 ห้องเรียน
จากจํานวน 2 ห้องเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
2. แบบสังเกตพัฒนาการของพฤติกรรมด้านสังคม

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระได้แก่ การจัดประสบการณแบบโครงการ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมด้านสังคม

กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยเพื่อสังเคราะห์เป็นกรอบ
แนวคิดในการทําวิจัย ที่ส่งเสริมพัฒนาการของพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยที่มี
ความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ซึ่งการจัดประสบการณ์
แบบโครงการเป็นรูปแบบนวัตกรรมการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ค้นพบศักยภาพของตนเองและ 8
เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ผ่านกระบวนการเลือกหัวเรื่องที่เด็กสนใจ

สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมมีระดับพัฒนาการ
ของพฤติกรรมด้านสังคมสูงขึ้นหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 18

-ได้มีการนำของเล่นเข้ามุมทั้งหมดที่นักศึกษาทุกคนได้ทำ มาจัดเป็นหมวดหมู่เดียวกัน (แสง แม่เหล็ก แรงเสียดทาน การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ เสียง )
-ในการทำของเล่นเข้ามุมต้องมีการบอกว่าเด็กเล่นแล้วจะได้อะไร มีหลักการหรือแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายให้เด็กเข้าใจง่าย แล้วสามารถจับคอบเซปได้ว่าเป็นเรื่องอะไร










วันจันทร์ที่23 กันยายน 2556

บันทึกครั้งที่17

-อาจารย์ตฤณให้นักศึกษาปฏิบัติสาธิตการทำต้มจืด(บทบามสมมติ มีคุณครูผู้สอนและให้นักศึกษาที่เหลือเป็นนักเรียน)




































โดยมีกระบวนการสอนดังนี้
1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา(เด็กตอบ)พอเด็กตอบก็มีการวางเรียงของจากซ้ายไปขวาใหม่(ได้เรื่องคณิตศาสตร์)
2.เด็กๆเก่งมากเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง(เด็กตอบ)
3. วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ(เด็กตอบ)
4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ
5.ขณะที่รอ น้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไรแล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมัน อันตรายและอาจเกิดอุบัติเหตุได้
6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป ตอนนี้หมูเป็นสีอะไรอยู่คะ(ได้ทักษะการสังเกต)เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ
7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร(ได้สังเกต)
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก
9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาติช่วยคุณครูบ้างคะ
10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?

วันจันทร์ที่16 กันยายน พ.ศ.2556

บันทึกครั้งที่16

อาจาร์ยตฤน ให้ทำ Mind Mapping ในการทำ Cooking
ขั้นแรก ให้แต่ะละกลุ่มเลือกแจกแจงเรื่องอาหาร ว่ามีไรบ้าง
ขั้นที่สอง เลือกเมนูของแต่ละกลุ่มว่าจะทำอะไร กลุ่มของดิฉันเลือกทำแกงจืด เนื้อหาใน Map มี อุปกรณ์ ส่วนประกอบ ประโยชน์ วิธีทำ
ขั้นที่สาม จากนั้นก็เขียนขั้นตอนวีธีทำแกงจืด
ขั้นที่สี่ เขียนแผนในเรื่องการสอนทำ Cooking แกงจืด
วัตถุประสงค์
1. เด็กสามารถบอกส่วนผสมและสังเกตวัตถุของแกงจืด
2. เด็กสามารถบอกความเปลี่ยนแปลงของวัตถุก่อนและหลังทำได้
สาระสำคัญ
1. เด็กรู้ประโยชน์ของแกงจืด 2. เด็กได้รู้ส่วนผสมและวิธีการทำแกงจืด
วิธีการ
ขั้นนำ - ครูนำเด็กเข้าสู่บทเรียนด้วยเรื่องผัก
- ครูถามคำถามเด็กเกี่ยวกับอาหารที่เด็กชอบ
ขั้นสอน - ครูถามคำถามเด็กว่าเห็นอุปกรณ์อะไรบ้างและเราจะนำมาทำอะไร
- ครูแนะนำอุกรณ์และสร้างข้อตกลงกับเด็กร่วมกันในการทำอาหาร
- ครูและเด็กร่วมกันทำแกงจืดสีรุ้ง
ขั้นสรุป - ครูและเด็กร่วมกันพูดถึงประโยชน์ของผัก
- ครูและเด็กร่วมกันสรุปส่วนผสมของแกงจืดและบอกความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังทำ
- เด็กทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
สื่อ อุปกรณ์ต่างๆ ส่วนผสมแกงจืด และเพลง
ประเมิน - สังเกตการบอกเล่าวัตถุของเด็ก และสังเกตการบอกวัตถุถึงการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังทำ


หลังจากนั้นให้ทุกกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าห้องเรียน



บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย


วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ ที่27 เดือนกันยายน พ.ศ. 2556


บันทึกครั้งที่ 15

วันนี้กลุ่มของดิฉันได้สาธิตการทำแกงจืด โดยทำตามแผนที่เขียนไว้ในสัปดาห์ก่อน




อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร 
  • กะทะไฟฟ้า
  • ทับพีขาว
  • มีด
  • เขียง
  • น้ำดื่มสะอาด
  • เกลือ
  • ซีอิ๊วขาว
  • เต้าหู้ไข่
  • วุ้นเส้น
  • แครอท
  • หมูสับ
  • ผักกาดขาว
  • ต้นหอม
  • ผักชีฝรั่ง
  เข้าสู่กิจกรรม



รอน้ำเดือด



ขออาสาสมัครออกมาช่วยทำอาหาร



แกงจืดพร้อมรับประทาน

กิจกรรมในวันนี้ได้รับความรู้จากอาจารย์ วิธีการสอนการพูดคุยให้เด็กเข้าใจได้ง่ายๆ และได้ปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียนจริงๆทำให้มีความรู้ และสนุกสนาน สาามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาด้วยกัน บรรยากาศในห้องวันนี้เพื่อนๆให้ความสนใจในการประกอบอาหารดีมาก

วันจันทร์ ที่16 กันยายน พ.ศ 2556

บันทึกครั้งที่14

วันนี้มีอาจารย์ท่านไม่มาช่วยอารย์ประจำวิชาสอน ท่านคืออาจารย์ตฤณ แจ่มถิน น่ารักมากเลยแถมยังใจดี วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม มารับอุปกรณ์มีดีงนี้
1. กระดาษสีแผ่น
2. สีเมจิ
จากนั้นอาจารย์วางข้อตกลงดังนี้

แผ่นที่ 1. ให้เขียนอะไรก็ได้เกี่ยวกับอาหาร( Cooking)




แผ่นที่ 2. ให้แต่ละกลุ่มเลือกเมนูอาหารที่สนใจ




เลือกเมนูอาหาร


แผ่นที่ 3. เขียนวิธีการทำแกงจืด




วิธีการทำแกงจืด



แผ่นที่ 4. เขียนแผนการจัดกิจกรรม




แผนการจัดกิจกรรม

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความรู้ในการเรียนแผนการจัดกิจกรรม ขั้นสึดท้ายอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน และเลือกเมนูอาหารที่จะทำจริงๆในสัปดาห์ถัดไป ซึ่งกลุ่มที่ถูกเลือก คือ กลุ่มของดิฉันเอง เป็นเมนูแกงจืด ซึ่งให้เตรียมวัสดุอุปกรณ์มาประกอบอาหารในสัปดาห์หน้า
วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียน และทำงานกลุ่มดีมาก ช่วยกันคิดช่วยกันเขียนแผนการจัดกิจกรรม

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ ที่2 เดือนกันยายน พ.ศ.2556

บันทึกครั้งที่13

               **หมายเหตุ เนื่องจากอาจารย์ไปสัมมนาที่จังหวัดสระบุรี (วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556)
เวลา 08.30 น. (เรียนชดเชย)
ค้นคว้าเพิ่มเติม

ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด
กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ มีรายละเอียดของแต่ละทักษะดังนี้


ทักษะการสังเกต
การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
ทบวงมหาวิทยาลัย (2525:60) ได้กล่าวว่า ในการสังเกตต้องระวังอย่านำความคิดเห็นส่วนตัวไปปนกับความจริงที่ได้จากการสังเกตเป็นอันขาด เพราะการลงความคิดเห็นของเราในสิ่งที่สังเกตอาจจะผิดก็ได้ ถ้าอยากรู้ว่าข้อมูลที่บันทึกนั้นเกิดจาการสังเกตหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลที่ได้นี้ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัสส่วนไหนหรือเปล่า ถ้าคำตอบว่าใช่ แสดงว่าเป็นการสังเกตที่แท้จริง
นิวแมน (Neuman 1978: 26) ได้เสนอหลักสำคัญไปสู่การสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งห้า
2. ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดละออ
3. ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่าง
ระมัดระวัง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่า
สุชาติ โพธิวิทย์ (ม.ป.ป.:15) ได้กล่าวถึงการสังเกตที่สำคัญที่ควรฝึกให้แก่เด็ก มี 3 ทางคือ
1. การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป คือ ความสามารถในการใช้ประสาท
สัมผัสทั้ง 5 อย่าง สังเกตสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง คือ การใช้ตาดูรูปร่าง ลักษณะ หูฟังเสียง ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น และการสัมผัสจับต้องดูว่าเรียบ ขรุขระ แข็ง นิ่ม ฯลฯ
2. การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การใช้เทอร์โมมิเตอร์ ตาชั่ง ไม้บรรทัด กระบอกตวง ช้อน ลิตร ถัง ฯลฯ ใช้เครื่องมือเหล่านี้วัดสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานออกมาเป็นปริมาณ เป็นจำนวน
3. การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น สังเกตการเจริญเติบโตของต้นพืช การเจริญ
เติบโตของสัตว์ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงขนาดของผลึก การกลายเป็นไอของน้ำ ฯลฯ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต

การสังเกตโดยใช้ตา ในการสังเกตโดยใชสายตานั้น หากเด็กได้รับการชี้แนะให้รู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่าง ๆ สังเกตความเหมือน ความแตกต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภทก็จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ โดยขั้นแรกให้ดูสิ่งที่เด็กพบ เห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้ ขณะที่พาเด็กไปเดินเล่นในบริเวณโรงเรียน ครูเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้เด็กดู (ไม่ควรเด็ดใบไม้จากต้น ถ้าเด็กอยากเด็ด ให้บอกเด็กว่า “เก็บ จากพื้นดีกวา ดอกไม้ใบไม้ที่อยู่กับต้นช่วยให้ต้นไม้ดูสวยงามและเจริญเติบโต ถ้าเราเด็ด ออกมาดูอีกเดี๋ยวเดียวก็จะเหี่ยว”) ให้เด็กสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ เด็กจะเห็นว่า ใบไม้ ส่วนใหญ่มีสีเขียว แต่บางใบก็มีสีแตกต่างไป ส่วนรูปร่างลักษณะก็มีทั้งคล้ายกันและต่าง กัน เช่น ใบมะนาวไม่มีแฉก ใบตำลึงมีแฉก เป็นต้น นอกจากใบไม้แล้ว ควรให้เด็กสังเกตุ รูปทรงต่าง ๆ ของพืช เช่น เป็นลำต้นตรงสูงขึ้นไป เป็นเถาเลื้อยเกาะกับต้นอื่น ให้สังเกต ความแตกต่างของดอกไม้ และผลไม้ต่าง ๆ เช่น ดอกอัญชันมีสีม่วงเข้ม ส่วนดอกมะลิมีสี ขาว แล้วให้เด็กนำไปใช้ประโยชน่อะไรได้ เช่น เอาดอกอัญชันไปใช้ย้อมผ้าได้ ใบเตยนำ
ไปใช้ในการทำขนม ทำให้มีสีสวยและกลิ่มหอม เป็นต้น
นอกจากสังเกตใบไม้แล้ว ครูควรจัดหาเมล็ดพืชหลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กเล่นเพื่อ สังเกตลักษณะรูปร่างขนาด สี และหัดแยกประเภท และจัดหมวดหมู่ โดยนำเมล็ดที่มีลักษณะคล้ายกันไว้ด้วยกัน รวมทั้งให้คิดว่าเป็นเมล็ดของพืชชนิดใดด้วย
อุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากสำหรับการสังเกต คือ แว่นขยาย เด็ก ๆ มักตื่นเต้นที่ได้ เห็นสิ่งต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น และเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ใบไม้ เส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ก้อนหิน เม็ดทราย เป็นต้น


การสังเกตโดยใช้หู นอกจากความสามารถในการจำแนกเสียงจะมีประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อม ทางภาษาแล้วยังมีประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กอีกด้วย เสียงที่เด็กคุ้นหูคือ เสียงสัตว์ต่าง ๆ ครูอาจใช้วิธีอัดเสียงนกในท้องถิ่น เสียงกบร้อง เสียง จักจั่น ฯลฯ แล้วเปิดเทปให้เด็กทายว่าเป็นเสียงสัตว์อะไรที่เด็กรู้จักสังเกตความแตกต่าง ของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้ครูสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเกี่ยวกับลักษณะและความเป็น อยู่ของสัตว์ต่าง ๆ ได้ และช่วยให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะสังเกตและศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมมากขึ้น
สำหรับการฟังเสียงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว อาจใช้วิธีให้เด็กปิดตา แล้วเดาว่าเสียงที่ ครูทำนั้นเป็นเสียงอะไร เช่น เสียงเคาะไม้ เสียงช้อนคนแก้วน้ำ เสียงฉิ่ง เป็นต้น จากการ ฟังเสียงที่แตกต่างกันของวัตถุเหล่านี้ เด็กจะเรียนรู้ถึงความแตกต่างของวัตถุซึ่งมีผลทำให้ เกิดเสียงที่ต่างกันไป นอกจากนี้ อาจนำเครื่องดนตรี หรือเครื่องให้จังหวะที่ทำด้วยวัสดุ ต่าง ๆ มาแสดงให้เด็กเห็นว่ามีเสียงต่างกัน เช่น ลูกซัดที่ใส่ถั่วเขียวไว้ข้างใน ลูกซัดหวาย ร้อนด้วยฝาน้ำอัดลม กรับไม้ไผ่ ฯลฯ


การสังเกตโดยใช้จมูก กิจกรรมที่ใช้การดมกลิ่น ควรประกอบด้วยการให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นต่าง ๆ กัน รวม ทั้งให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นคล้าย ๆ กัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเพื่อให้รู้จักจำแนกได้ ละเอียดขึ้น ในขั้นแรกให้นำของต่าง ๆ ที่จะให้เด็กดมใส่ขวดเอากระดาษปิดขวดรอบนอก เพื่อไม่ให้เห็นสิ่งของ ให้เด็กดมแล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร ตัวอย่างสิ่งที่อาจให้ดม ได้แก่ หัวหอม กระเทียม สบู่ กาแฟ ใบสะระแหน่ เปลือกส้ม ยาดม ฯลฯ ต่อมาหลังจากที่เด็ก สามารถจำแนกกลิ่นต่าง ๆ ได้แล้ว ควรให้ดมกลิ่นสิ่งที่มีกลิ่นคล้ายกัน แต่ก็มีความ
แตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น สบู่ต่างชนิดกัน ดอกไม้ต่าง ๆ ใบไม้ต่าง ๆ ผลไม้ เช่น ส้ม กับมะนาว แล้วให้เด็กพูดบรรยายความรู้สึก เช่น ดอกไม้ดอกนี้หอมชื่นใจ ดอกนี้หอมแรงไป หน่อย ใบไม้นี้มีกลิ่นหอม ใบนี้กลิ่นคล้ายของเปรี้ยว เป็นต้น


การสังเกตโดยใช้ลิ้น การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับ ธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะ สิ่งต่าง ๆ แต่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งใดเอาเข้าปากได้ และสิ่งใดไม่ควรแตะต้องเพราะมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเด็กไปพบเห็นสิ่ง ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติจะได้ไม่เอาเข้าปาก การให้เด็กได้ชิมรสต่าง ๆ นี้ก็เพื่อให้รู้จัก ความแตกต่างของรส และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้น ให้เอาอาหารชิ้นเล็ก ๆ หลายอย่างใส่ถาดให้เด็กปิดตาแล้วครูส่งให้ชิม ให้เด็ก ตอบว่า กำลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล เกลือ วุ้น มะยม มะนาว ฯลฯ หลังจาก นั้นให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสหล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เช่น มะยมกับ มะนาวแตกต่างกันอย่างไร


การสังเกตโดยใช้การสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสโดยใช้มือแตะหรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป กิจกรรมอาจเริ่มโดยเอาวัตถุหลายอย่างใส่ถุง ให้เด็กปิดตาเอมมือหยิบสิ่งของขึ้นมา แล้ว ให้บอกว่าสิ่งที่คลำมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ ของที่นำมาใส่ในถุงควรเป็นสิ่งที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่าง ๆ กระดาษ หยาบ ฟองน้ำ ไม้ ขนนก เหรียญ ฯลฯ นอกจากเด็กจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ เหล่านี้แล้วยังได้เรียนรู้ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันของวัตถุแต่ละชนิดอีกด้วย

ทักษะการจำแนกประเภท
การจำแนกประภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน (Similarities) ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม (Interrelationships) ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน นอกจากนี้ ประภาพรรณ สุวรรณสุข (2527:37) ได้ให้ความหมายของการจำแนกประเภทว่า หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจัดสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งการจัดประเภทนี้อาจทำได้หลายวิธี เช่น แยกประเภทตามตัวอักษร ตามลักษณะ รูปร่าง แสง สี เสียง ขนาด ประโยชน์ในการใช้ เป็นต้น
นิวแมน ได้อธิบายว่า เด็กปฐมวัยสามารถจำแนกวัตถุออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้โดยการใช้คุณสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุหรือมิติของวัตถุนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ในการจำแนก อาทิ สี ความแข็งแรง ขนาดและรูปร่าง เป็นต้น เด็กบางคนอาจจำแนกวัตถุต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มได้โดยใช้คุณสมบัติหรือมิติมากกว่าหนึ่งอย่าง ในการจำแนกนี้เด็กควรจะได้รับโอกาสที่ให้สามารถคิดตัดสินใจในการจำแนกโดยใช้วิธีการจำแนกของเด็กเอง และไม่ใช่วิธีการจำแนกของผู้อื่นกำหนดให้ สำหรับ เรส์ด และแพทเตอร์สัน (Resd and Patterson) ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า การจำแนกประเภทเป็นแกนกลางของการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ใช้วิธีการจัดระเบียบการสังเกตด้วยตนเอง การจำแนกประเภทนั้นมีสิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 อย่าง คือ เนื้อหาของกระบวนการวิชา คือ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิธีการของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ตลอดทั้งกระบวนการของการจำแนกประเภทของเด็กในการเรียนเกี่ยวกับลักษณะพิเศษของวัตถุชนิดต่าง ๆ ซึ่งเด็กปฐมวัยนั้นสามารถจะจำแนกคุณสมบัติของวัตถุได้โดยใช้วิธีการพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้ทบวงมหาวิทยาลัย (2525:68) ได้กล่าวถึงการจำแนกประเภทว่า เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้จำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกในการศึกษาและจดจำ โดยอาศัยเกณฑ์บางอย่างในการจำแนกสิ่งเหล่านี้ เช่น จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นพืชและสัตว์ โดยอาศัยลักษณะรูปร่าง การเคลื่อนไหว การกินอาหาร การขับถ่ายของเสีย และการสืบพันธุ์เป็นเกณฑ์ในการจำแนก เมื่อพิจารณาคุณสมบัติเหล่านี้แล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่า พืชและสัตว์แตกต่างกันมาก บางครั้งอาจจะมีปัญหาอยู่บ้างในการเลือกเกณฑ์ที่จะใช้ในการจำแนกประเภท ยกตัวอย่างเช่น แป้งเปียกมีลักษณะกึ่งกลางระหว่างของแข็งกับของเหลว จึงไม่ทราบจะจัดเข้าประเภทใด ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า การจำแนกโดยใช้เกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดแต่เพียงอย่างเดียว จะมีข้อจำกัดในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ จึงมีข้อเสนอแนะว่าในการจำแนกนั้นเราจะใช้วิธีใด หลักใดก็ตาม วิธีที่ดี คือ วิธีที่ทำให้เราสามารถแยกประเภทและระบุชนิดของวัตถุต่าง ๆ ได้โดยเด็ดขาด ไม่ควรก้ำกึ่งกันจะทำให้สับสน การพัฒนาทักษะในการจำแนกประเภทนั้น ผู้เรียนจะต้องเริ่มด้วยการจำแนกกลุ่มของวัตถุออกเป็นสองพวกตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้นก็แบ่งต่อไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นครั้งที่สอง และทำเช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งผู้เรียนสามารถแบ่งระบุวัตถุที่มีอยู่จำนวนมาก ๆ ได้
ดังนั้นการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยด้วยวีธีการจำแนกประเภท ครูจะต้องพยายามจัดหาวัสดุอุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กได้เล่น เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจอยู่เสมอ กระตุ้นให้เด็กเสนอแนวคิดในการจำแนกวัตถุในหลาย ๆ ลักษณะให้ได้มากที่สุดที่เด็กจะทำได้ และหลังจากที่เด็กจำแนกประเภทได้แล้ว ควรให้เด็กอภิปรายเหตุผลที่เขาได้จำแนกตามประเภทเช่นนั้น

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการจำแนกประเภท
การแยกประเภทเมล็ดพืช
แนวคิด
เมล็ดพืชมีความแตกต่างกันในด้านขนาดรูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัตถุประสงค์หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมนี้แล้วเด็กสามารถ
1. แยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างน้อย 2 ลักษณะ
2. เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความแตกต่างกันของเมล็ดพืชในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหยาบละเอียดของผิวนอกเมล็ด

วัสดุอุปกรณ์
1. เมล็ดพืชชนิดและขนาดที่แตกต่างกันในด้านขนาด รูปร่าง สี และความหมาย ละเอียด เช่น เมล็ด ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ข้าวเปลือก น้อยหน่า มะละกอ ชมพู่ ฝรั่ง มะขาม ฯลฯ
2. ถาด หรือฝากล่องกระดาษสำหรับแยกเซตของเมล็ดพืช
3. ภาชนะสำหรับใส่เมล็ดพืช (อาจจะใช้ถ้วยพลาสติก ชาม กระทง หรือขันก็ได้)

กิจกรรม
1. จัดเมล็ดพืชทุกประเภทที่สามารถหามาได้โดยผสมกันแล้วแบ่งใส่ภาชนะเพื่อ
แจกให้กับเด็กทุกคนโดยครูยังไม่ต้องให้คำแนะนำใด ๆ ทั้งนั้น ปล่อยให้เด็กเล่นกับเมล็ดพืชตามลำพัง
2. หลังจากนั้นสักครูหนึ่งบอกให้เด็กแยกประเภทของเมล็ด ขณะที่เด็กทำกิจกรรมอยู่ครูเดินดูรอบ ๆ และอภิปรายกับเด็กแต่ละคนว่าแยกประเภทของเมล็ดพืชได้อย่างไร หรือเพราะเหตุใดเขาจึงแยกในลักษณะนั้น
3. ส่งเสริมให้เด็กแยกประเภทของเมล็ดพืชในลักษณะใหม่ที่ไม่ให้ซ้ำกับแบบเดิมที่เขาได้ทำไว้ครั้งแรก โดยถูกต้อง ไม่แนะนำใด ๆ ทั้งสิ้น
4. อภิปรายเกี่ยกวับวิธีการที่เด็กแต่ละคนแยกประเภท โดยอาจจะให้เด็กเดินดูของ เพื่อนคนอื่น ๆ ว่าเขาทำกันอย่างไร หลังจากนั้นครูควรตั้งคำถามเด็กว่า
“ทำไมจึงใส่เมล็ดพืชเหล่านั้นรวมอยู่ในกองเดียวกัน”
“ นักเรียนว่ามีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะจัดเมล็ดพืชมาอยู่กองเดียวกัน”
“นักเรียนสามารถจะเอาเมล็ดพืชที่ครูแจกให้นั้นมาแยกเป็น 2 กลุ่มได้ไหม”

ข้อเสนอแนะ
1. กิจกรรมนี้จะได้ผลดีควรจะต้องหาเมล็ดพืชหลายประเภทและหลายขนาด
2. เมล็ดพืชนี้ครูอาจให้เด็กช่วยกันนำมาและสะสมไว้ เพราะอาจจะเก็บไว้ใช้ได้อีก ในหลาย ๆ กิจกรรม


ทักษะการวัด
การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ
ทิพย์วัล สีจันทร์ (2531 :19) กล่าวถึงการใช้คำถามเพื่อฝึกฝนให้ผู้วัดหาคำตอบและกระทำตาม คือ
1. จะวัดอะไร คำถามนี้จะทำให้ผู้วัดได้รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด รู้จักธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่น วัดความกว้าง ยาว สูง ของแท่งไม้ วัดปริมาตรของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ วัดอุณหภูมิ วัดน้ำหนัก
2. จะวัดทำไม คำถามนี้ช่วยให้เราทราบความมุ่งหมายที่จะวัดว่า ต้องการทราบอะไร เช่น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ความแข็ง อุณหภูมิ ฯลฯ และต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด
3. จะวัดด้วยอะไร คำถามนี้ต้องการทราบถึงการเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งของที่จะวัดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะวัดด้วย
4. จะวัดอย่างไร คำถามนี้ถามถึงวิธีการที่เราจะวัด เช่น วัดโดยการนับจำนวนและนับโดยใช้ลำดับที่ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ต่อไป สุดท้าย คู่ วัดโดยการตวง วัดโดยการชั่ง วัดโดยการเปรียบเทียบ เป็นต้น
ส่วนด้านการวัดนั้น สำนึก โรจนพนัส (2528 : 29) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการวัดของเด็กอนุบาลว่า เป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นของการวัด เช่น การกะปริมาณ กิจกรรมใดก็ตามที่จะให้เด็กชี้หรือบอกว่าสิ่งที่เขาสัมผัสอยู่นั้น หนัก เบา ใหญ่ เล็ก ฯลฯ ล้วนเป็นการเตรียมความพร้อมทางการวัดทั้งสิ้น
ในด้านปริมาณ ประภาพรรณ สุวรรณศุข (2527 : 376) ได้อธิบายถึงการให้เด็กปฐมวัยบอกปริมาณของวัตถุต่าง ๆ ว่า ควรจะมุ่งในเรื่องของปริมาณที่สามารถมองเห็นได้ชัดและเป็นหน่วยใหญ่ ๆ ไม่ควรสนใจในเรื่องหน่วยย่อย เช่น การเปรียบเทียบโต๊ะ 2 ตัว ว่าตัวใดยาวกว่า ครูอาจแนะนำให้เด็กสังเกตด้วยสายตา อาจจะใช้สายวัดมาวัดดู อาจจะทำเครื่องหมายบนสายวัดเอาไว้ เด็กก็จะสามารถมองเห็นความแตกต่างกันได้ แต่ครูไม่ควรบอกเด็กว่าโต๊ะตัวแรกยาว 12 นิ้ว
1 เซนติเมตร โต๊ะตัวที่สองยาว 11 นิ้ว โต๊ะตัวไหนยาวกว่ากัน การบอกความยาวเป็นเช่นนี้ เด็กจะยังไม่สามารถเข้าใจเกี่ยวกับมาตราได้ดี เด็กก็จะตอบคำถามไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีผลทำให้เด็กไม่สนใจเรียน และการให้เด็กแสดงปริมาณของวัตถุ ไม่ควรใช้การสังเกคด้วยสายตาเพียงอย่างเดียว ควรให้เด็กได้ใช้วิธีต่าง ๆ ให้มากที่สุด

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการวัด- ตัวอย่างการวัดอย่างง่าย ได้แก่ วัดโต๊ะเรียนสูงกี่คืบ กระดานดำยาวกี่ศอก น้ำมี
ปริมาตรกี่ปี๊บ ระยะเวลาเรียนหนังสือนานเพียงไร (อาจตอบว่าตั้งแต่หลังเคารพธงชาติ จนถึงเวลาอาหารกลางวันหรือพระอาทิตย์ตรงศรีษะ)


ทักษะการสื่อความหมาย
การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
ลักษณะที่จะบอกได้ว่า การสื่อความหมายได้ดีหรือไม่ จะต้องเป็นดังนี้
1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ เป็นต้น
การที่จะฝึกเด็กให้มีทักษะในการสื่อความหมายที่ดีได้นั้น เด็กจะต้องรู้คำศัพท์ หรือความหมายของคำเป็นอย่างดี อีกทั้งจะต้องมีประสบการณ์ในการสื่อความหมายที่ถูกวิธีด้วย การพัฒนาทางด้านภาษา และความพร้อมในการอ่าน จะช่วยทำให้มีความสามารถในการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการที่เราจะให้เด็กสามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ดี จึงควรที่จะจัดประสบการณ์ด้านนี้ให้แก่เด็กตั้งแต่วัยปฐมวัย ซึ่งครูจะต้องกระตุ้นให้เด็กเป็นผู้อธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เขาได้ค้นพบให้มากที่สุด ถ้ามีเด็กที่ไม่ชอบพูดครูอาจจะต้องใช้เทคนิคในการตั้งคำถาม และหากเด็กบรรยายสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง ครูควรแก้ไขทันที

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อความหมายวัสดุบางอย่างสามารถลอยน้ำ
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่ลอยน้ำได้
แนวคิด
วัตถุบางอย่างสามารถลอยน้ำได้

วัตถุประสงค์
หลังจากทำกิจกรรมนี้เสร็จแล้วเด็กสามารถ
1. ชี้บ่งวัตถุที่สามารถลอยน้ำได้
2. อธิบายสาเหตุที่วัตถุลอยน้ำได้
3. อธิบายสาเหตุที่ทำให้วัตถุจมน้ำ

วัสดุอุปกรณ์
กระดาษ ใบตอง กาบมะพร้าว ดินน้ำมัน เปลือกไม้ ตะปู ก้อนหิน ดินน้ำมัน อะลูมิเนียมฟอย (ถ้ามี) อ่างน้ำ น้ำ

กิจกรรม
1. แบ่งเด็กนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 4-5 คน
2. แจกวัสดุทั้งหมด (ยกเว้นอ่างน้ำ และน้ำ) ที่กล่าวข้างต้นให้แก่เด็กทุกกลุ่ม
3. บอกให้เด็กสร้างเรือคนละประเภทจากกระดาษ ใบตอง กาบมะพร้าว ดินน้ำมัน เปลือกไม่ อะลูมิเนียมฟอย ครูควรกระตุ้นให้เด็กทำเรือที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น ทำเป็นเรือใบ เรือแจว เรือเปลือกไม้ ฯลฯ
4. ให้เด็กนำเอาเรือที่ได้ทำเสร็จแล้วไปลอยในอ่างน้ำที่มีน้ำอยู่และให้เด็กสังเกตเรือของตนเองว่าลอยน้ำได้หรือไม่ หลังจากนั้นครูอาจแนะนำให้เด็กเอาก้อนหินหรือตะปู หรือดินน้ำมันค่อย ๆ ใส่ลงไปบนเรือทีละอันหรือทีละก้อน และสังเกตดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นถ้าเรือลำใดยังไม่จมน้ำครูอาจเสนอแนะให้เด็กเครื่องล่วงใส่ลงไปอีกจนกว่าเรือจะจม
5. ครูอภิปรายกับเด็กโดยตั้งคำถามดังนี้
“เรือที่เขาทำนั้นมีรูปร่างเป็นอย่างไร”
“เรือของใครบ้างที่ลอยน้ำ เพราะอะไร”
“เรือของใครบ้างที่จมน้ำ เพราะอะไร”
“เรือรูปร่างอย่างไรที่แล่นได้เร็ว”


ข้อเสนอแนะ 1. กิจกรรมนี้ควรให้เด็กเล่นนอกห้อง และควรจัดหาอ่างน้ำให้เท่ากับจำนวนกลุ่ม
2. ก่อนทำกิจกรรมนี้ครูควรฝึกให้เด็กพับเรือให้เป็นรูปต่าง ๆ ให้ได้ก่อนจะได้ไม่ เสียเวลามาก และเด็กสามารถเห็นความแตกต่างของเรือประเภทต่าง ๆ


ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลนี้อาจได้จากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง การลงความเห็นจากข้อมูลต่างกับการทำนายในแง่ที่ว่า การลงความเห็นจากข้อมูลไม่บอกเหตุการณ์ในอนาคต เป็นเพียงแต่อธิบายความหมายจากข้อมูล โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย
การลงความเห็นจากข้อมูล เป็นการอธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย มีลักษณะดังนี้
1. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่าง
การลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ แต่ละอย่างที่สังเกตได้โดยมีข้อมูลไม่เพียงพอ เช่น เห็นสารสีขาวก็บอกว่าเป็นเกลือ โดยยังไม่ได้สังเกตคุณสมบัติเฉพาะอื่น ๆ ของสิ่งนั้นให้เพียงพอ เช่น ยังไม่ได้สังเกตการละลาย รส เป็นต้น
2. ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ
อธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกต โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิม เช่น เห็นต้นกุหลาบเหี่ยว ใบเป็นรูพรุน ก็บอกว่าเพราะหนอนกิน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าคืออะไร แต่อาศัยที่คนอื่นเคยบอกหรือเคยเห็นหนอนกินกุหลาบบ้านอื่น (ซึ่งถ้าต้องการจะรู้ว่ากุหลาบถูกหนอนกินจริงหรือไม่ก็ต้องสังเกตดูว่า บริเวณนั้นมีหนอนหรือไม่ ถ้าไม่พบแต่ยังสงสัยอยู่ว่า หนอนจะเป็นสาเหตุก็ลองตั้งสมมติฐานว่า “หนอนเป็นสาเหตุให้กุหลาบชนิดนี้ตายหรือไม่”)
ลัดดาวัลย์ กัณหสุวรรณ (2530 : 6-8) ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับทักษะการลงความเห็นไว้ว่า ผู้ที่ลงความเห็นจะใช้ผลของการสังเกต และใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นข้อสรุปลงความเห็น ซึ่งอาจจะดีกว่าการเดาเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีใครทราบว่าผิดหรือถูก
หลายคนมีความเห็นว่า การลงความเห็นไม่น่าจะยกขึ้นมากล่าวในเรื่องของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่ทว่าการลงความเห็นนั้นเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรามักจะทำกันเสมอ ในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อสังเกตเห็นน้ำเปียกบนถนนก็คิดว่าฝนคงจะตกลงมากระมัง นอกจากนี้ยังมีการลงความเห็นในปรากฏการณ์อื่น ๆ อยู่เสมอ ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้หาวิธีการที่จะช่วยให้สามารถลงความเห็นได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด
สำหรับทักษะในการลงความเห็นนั้น มิใช่ว่าครูจะมุ่งแต่การฝึกให้นักเรียนลงความเห็นอย่างเดียว แต่จะต้องพยายามให้เด็กเรียนวิเคราะห์ให้ได้ว่า อะไรคือผลของการสังเกต และอะไรเป็นสิ่งที่เราพูดเอาเอง หรือสรุปลงความเห็นเอาเอง ซึ่งมิใช่ผลของการสังเกต และให้เน้นว่าเมื่อสังเกตอะไรแล้ว อย่ารีบด่วนสรุปลงความเห็น เพราะว่าไม่มีอะไรยืนยันว่า ข้อสรุปลงความเห็นนั้นผิดหรือถูก ควรเน้นว่า ข้อมูลใด ๆ ที่ได้มาจากการลงความเห็นแต่เพียงอย่างเดียวจะถือเป็นข้อยุติไม่ได้
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ครู - นักเรียนดูสิ่งที่ครูถืออยู่นี้แล้วบอกซิว่า สังเกตอะไรได้บ้าง
นักเรียน - เห็นกล่องกลม ๆ สีดำ ฝาสีแดง
ครู - นักเรียนลองมาจับกล่องใบนี้ เขย่าดูซิว่าเป็นอย่างไร
นักเรียน - เขย่าแล้วมีเสียงดัง
ครู - แล้วยังไงอีก
นักเรียน - มีวัตถุรูปร่างแบน ๆ อยู่ในกล่อง
กิจกรรมนี้จะเห็นได้ว่า นักเรียนสังเกตได้แต่เพียงกล่องสีดำ ฝาสีแดง เขย่าแล้วมี เสียงดัง ส่วนที่บอกว่า วัตถุที่อยู่ข้างในรูปร่างแบน ๆ นั้น เขาสังเกตไม่ได้ เขาเพียงได้ยิน เสียงเท่านั้น แล้วลงความเห็นเลยว่า รูปร่างเป็นอย่างไร ซึ่งที่บอกมานั้นอาจผิดหรือถูกก็ได้ จากตัวอย่างนี้คงจะช่วยให้เข้าใจถึงทักษะการลงความเห็นได้บ้าง สำหรับทักษะในการลง ความเห็นนั้นควรจะนับเป็นก้าวหนึ่งที่ก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น แต่ครูจะต้องไม่ลืม กระตุ้นให้นักเรียนหาข้อมูลเพิ่มเติมอีก


ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
สเปส หรือมิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้ การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสสำหรับเด็ก
ปฐมวัยอาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุกับเวลาที่ใช้ไป เช่น การข้ามถนน การกะระยะมิติของรถที่กำลังแล่นมากับมิติ หรือสเปสของตัวเองที่จะข้ามถนน การเจริญเติบโตของถั่วงอกกับเวลาที่ใช้ไป เป็นต้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมต่อไปนี้ได้
1. ชี้บ่งภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น เมื่อนำภาพหรือวัตถุรูปร่างต่าง ๆ แผ่นกระดาษสี่เหลี่ยม แผ่นกลม แผ่นสามเหลี่ยม ลูกแก้ว ลูกเต๋า กล่องชอล์ก เหล่านี้เป็นต้น นักเรียนสามารถชี้บ่งได้ว่า สิ่งใดมี 2 มิติ และสิ่งใดมี 3 มิติ
2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิตแล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ถ้าเรายืนอยู่ตรงประตูด้านทิศตะวันตกของสวนสัตว์ และต้องการจะไปดูยีราฟจะต้องเดินทางไปทางซ้ายหรือทางขวาของตำแหน่งที่ยืนอยู่
3. บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุหรือสถานที่ต่าง ๆ เช่น เมื่อนักเรียนดูแผนผังของสวนสัตว์ดุสิต ตรงทางเข้าประตูสวนสัตว์ด้านหนึ่ง นักเรียนสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้นักเรียนยืนอยู่ตำแหน่งใดในแผนผังนั้น
4. บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของภาพที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา เช่น ถ้านักเรียนผูกผ้ากับข้อมือข้างขวาไว้ แล้วไปยืนหน้ากระจกเงา นักเรียนสามารถบอกได้ว่าภาพของนักเรียนในกระจกเงานั้นมีผ้าผูกข้อมือข้างใดไว้ เป็นต้น
ทักษะในการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา คือ ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับเวลาที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่ และการบอกความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือปริมาณของสารกับเวลา

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลาการสังเกตเงา

วัตถุประสงค์
เพื่อให้เด็กสามารถบอกชื่อวัตถุจากการสังเกตเงา และเปรียบเทียบเงาที่ได้เห็นกับวัตถุของจริงได้

วัสดุอุปกรณ์
1. ฉาก (อาจจะใช้กระดาษขาว กล่องกระดาษหรือผ้า)
2. วัตถุหลาย ๆ ประเภทนี้มองเห็นได้ชัดเจน แลมีรูปร่างที่เด่นชัดเมื่อเด็กมองเห็น สามารถจะตอบได้ว่าเป็นอะไร เช่น ขวด แก้ว ช้อน ส้อม รูปดาว ดอกไม้ เป็นต้น วัสดุนี้อาจจะใช้ของจริงหรือของจำลองก็ได้
3. รูปภาพ หรือภาพร่าง ของวัตถุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ทุกชนิด

กิจกรรม
1. จัดตั้งฉาก อาจจะเอาออกไปจัดทำกลางแจ้งเพื่อให้แสงแดดส่องวัตถุทำให้เกิดเงาบนฉาก หรืออาจจะทำในห้องโดยใช้แสงไฟ ฉายไปที่วัตถุก็ได้
2. ถือวัตถุไว้หลังฉากโดยทำเป็นมุมปกติ และถือวัตถุตามแนวตั้งให้เด็กที่นั่งข้าง หน้าฉากตอบว่าเป็นวัตถุอะไร และทำไมเขาคิดว่าเป็นวัตถุประเภทนั้น
3. ให้เด็กจับคู่รูปภาพของวัตถุให้สอดคล้องกับเงาที่เขาได้สังเกตไว้ ครูควรจะปิดรูปภาพไว้ก่อน หลังจากดูเงาที่ฉากแล้วจึงเปิดรูปภาพให้เด็กดูและให้เขาเลือกจับคู่ มิฉะนั้นแล้วเด็กจะสนใจกับรูปภาพโดยไม่ได้ตั้งใจดูเงาที่ฉาก
4. ถามเด็กว่าเขาใช้ประสาทส่วนใดในการสังเกต

ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้เด็กได้เล่นกับเงาที่ฉาก และให้เด็กแต่ละคนได้เป็นผู้ทำกิจกรรมนี้โดยผลัดกันออกมาถือวัตถุไว้หลังฉาก
2. วัสดุที่นำมาให้เด็กเล่นควรมีความหลากหลายเด็กจะได้ไม่เบื่อ
3. เมื่อเด็กคุ้นเคยกับกิจกรรมที่ใช้วัตถุแล้ว อาจให้เด็กใช้มือแสดงเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ และให้เพื่อนทายว่าเป็นสัตว์ประเภทใด ซึ่งกิจกรรมนี้ครูจะต้องฝึกเด็กดูก่อน


ทักษะการคำนวณ
การคำนวณ หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
ทักษะการคำนวณที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งสำหรับวิทยาศาสตร์ เพราะในการทดลองหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ นั้น ต้องใช้ตัวเลขในการคำนวณค่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการทดลอง ดังนั้น
กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของตัวเลข จำนวนบวก จำนวนลบ เลขเต็มหน่วย เซตทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคำนวณ
- ครูจัดหาวัตถุสิ่งของมาให้เด็กได้นับจำนวน เช่น มีก้อนหิน 10 ก้อน เป็นต้น
- ครูให้เด็กศึกษาการเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยให้เด็กปลูกและดูแลต้นไม้เอง ตั้งแต่การเพาะเมล็ด และให้เด็กทำการวัดแต่ละสัปดาห์ต้นไม้สูงขึ้นเท่าไร แล้วบันทึกความสูงไว้เป็นจำนวนตัวเลข (ก่อนทำกิจกรรมนี้ครูควรแน่ใจใจว่า เด็กมีความรู้พื้นฐานเรื่องการวัด)


บทสรุป
จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ

วันจันทร์ ที่26 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556

บันทึกครั้งที่12
- อาจารย์ให้แต่ล่ะกลุ่มนำเสนอของเข้ามุมกลุ่ม 1 การมองเห็นของผ่านวัตถุโปร่งใส โปร่งแสง และทึบแสง
กลุ่ม 2 กล่องนำแสง
กลุ่ม 3 สัตว์ไต่เชือก
กลุ่ม 4 กีตาร์กล่อง
กลุ่ม 5 วงจรผีเสื้อและไก่
กลุ่ม 6 เขาวงกต
กลุ่ม 7 มองวัตถุผ่าแว่นขยาย

วันจันทร์ ที่26 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556

บันทึกครั้งที่ 11
ไม่มีการเรียนการสอน เพราะอาจารย์จัดงานเกษียณอายุราชการ
ค้นคว้าเพิ่มเติม
สร้างนิทานเพื่อการพัฒนาเด็ก

นิทานและเรื่องเล่า ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญ ที่ “คนไทย” ในอดีตใช้เป็นกลไกในการพัฒนาสติปัญญา สุขภาพ กิริยามารยาทและคุณธรรมจริยธรรมในเด็กได้อย่างแยบยลและได้ผล ควรที่คนไทยสมัยใหม่จะหันมาทบทวน และใช้เป็นกระบวนการในการอบรมบ่มเพาะเด็กในวันนี้ เพราะเป็นยุคสมัยที่ผู้ใหญ่ให้อิสระแก่เด็กในการใช้ชีวิตในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับตนเอง โดยที่มีผู้ใหญ่ดูแลเด็กห่างๆ ควบคุมการกินอยู่ด้วยการสั่ง มีการชี้แจงเหตุผลน้อย ไม่มีเครือญาติที่พรั่งพร้อมล้อมชีวิตที่จะใกล้ชิดเด็ก พ่อแม่ให้วัตถุทดแทนความรัก ความอบอุ่นจนกระทั่ง หลงลืม ละทิ้งวัฒนธรรมและหลักศีลธรรมอันดีงามอันเป็นรากฐานทางจิตใจของคนไทยในอดีต
นิทานจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นที่เด็กพึงได้รับ เพราะนิทาน คือ แรงบันดาลใจ และเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิตที่ดีสำหรับเด็กแบบอย่างที่ดี ที่จะเป็นแรงกระตุ้นเร้าให้เด็กได้ทำในสิ่งที่ฝันให้เป็นจริงได้ด้วยเพราะในสังคมไทยหาแบบอย่างที่ดีได้ยาก ความงดงามที่ทำให้เด็กรู้สึกว่าในชีวิตยังมีความดีงามหลงเหลืออยู่
การเรียนรู้ที่สนุกสนานอย่างไม่สิ้นสุดและเป็นการเรียนรู้สู่ความเป็นจริง เพราะนิทานคือ ส่วนหนึ่งของความจริง สิ่งเชื่อมโยงความรู้สึกกับบางสิ่งบางอย่างที่กว้างไกล จับต้องไม่ได้และเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจแต่เด็กๆ สัมผัสถึงความดีงามหรือความพิเศษของสิ่งนั้นได้จากความรู้สึกที่สัมผัสถึง
ช่องทางที่ดีขึ้นของชีวิตด้วยเด็กได้ค้นพบ “เพื่อน” ที่เข้าอกเข้าใจกัน
ช่องทางที่จะได้ปลดปล่อยอารมณ์ผ่าน “สะพานแห่งจินตนาการ” จนเกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์อันเป็นจุดกำเนิดพลังแห่งชีวิตอย่างมหาศาล
ปัจจัยสำคัญที่สามารถเปลี่ยนอารมณ์จากเด็กที่ตกอยู่ในภาวะทุกข์ยากลำบาก ให้เป็นอารมณ์สุนทรีจนสร้างความจรรโลงใจขึ้นมาได้
สิ่งที่เด็กชอบและต้องการ แม้จะตอบไม่ได้ว่าอ่านนิทานเพื่ออะไร
นิทาน เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของเด็กๆที่มิใช่เพียงการช่วยเสริมจินตนาการของเด็กๆ ให้กว้างไกลเท่านั้นแต่ “นิทาน” ยังตอบสนองความต้องการของเด็กได้ครบถ้วน ด้วยเพราะนิทานทุกเรื่องจะแฝงสิ่งที่เด็กต้องการในทุกด้าน ได้แก่
ความต้องการความรัก
ความต้องการให้คนอื่นสนใจ
ความต้องการให้ความรักแก่คนอื่น
ความต้องการเล่น
ความต้องการบริโภค
ความต้องการสิ่งวิเศษมหัศจรรย์
ความต้องการสิ่งที่สวยงาม
ความต้องการสัมผัสสิ่งลี้ลับ
ความต้องการความสนุกสนาน ขบขัน บันเทิง
ดังนั้น การสร้าง นิทาน สำหรับเด็ก จึงเป็นความละเอียดอ่อนที่ควรใส่ใจ

นิทานอ่านสำหรับเด็ก













วันจันทร์ ที่15 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556

บันทึกครั้งที่10
-นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม
-อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมจากที่ทุกๆ กลุ่มทำการทดลองและอธิบายกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นที่ 1 กำหนดขอบเขตของปัญหา ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น ต้นไม้โตได้อย่างไร
ขั้นที่ 2 ตั้งสมมุติฐาน เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ 2
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน

ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน ว่าผลที่เกิดคืออะไร เพราะอะไร ทำไม ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่ 1 ใหม่ แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่ 5 เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้



ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มี 4 ขั้นดังนี้
1.การตั้งสมมุติฐาน 
2.การทดลอง
3.การวิเคราะห์ข้อมูล
4.การสรุป
- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน การทดลองวิทยาศาสตร์ อาจารย์ให้กลุ่มละ 3 คน 

วันอาทิตย์ ที่18 เดือนสิงหาคม พฬศฬ 2556

เรียนชดเชย
- อาจารย์ให้เพื่อนแต่ละคนออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ตนได้นำเสนอไปเมื่อวันจันทร์ ที่ 15 กรกฏาคม 2556

ข้าพเจ้านำเสนอเรื่อง ถุงลอย

วันจันทร์ ที่12 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556

บันทึกครั้งที่9


ไม่มีการเรียนการสอน

** หมายเหตุ เนื่องจาก ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (วันแม่แห่งชาติ)
คำขวัญวันแม่




รูปถ่ายกับแม่ค่ะ


วันจันทร์ ที่5 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556

บึนทึกครั้งที่8
ไม่มีการเรียนการสอน
** หมายเหตุ เนื่องจาก อยู่ในช่วงการสอบกลางภาค 1/2556 ระหว่างวันที่ 29กรกฎาคม ถึง 5 สิงหาคม 2556

เรียนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่28 เดือนกรกฏาคม 2556 มาให้ดูนะคะอบรมการทำสื่อให้แก่เด็กปฐมวัย โดยอาจารย์ให้จับกลุ่มแบ่ง 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน

สื่อที่ทำ มีดังนี้
1.สื่อตัวการ์ตูนหรือสัตว์อ้างปากที่ใช้เชือกร้อยแล้วดึง ทำให้ปากอ้า
(กลุ่มของเพื่อนทำแมวคาบกางปลา)





2.สื่อที่ดึงแล้วโยกไปมา
ที่ใช้กระดาษชานอ้อยทำเป็นฐานสำหรับดึง และนำกระดาษแข็งมาติดกับกระดาษชานอ้อยบริเวณตรงกลางเพื่อเป็นแกนสำหรับให้ภาพโยกไปมา เสร็จแล้วนำภาพที่ต้องการติดลงไปตรงแกนนั้น จะทำมากกว่า 1 แกนก็ได้
(กลุ่มของเพื่อนทำปลาโลมากำลังว่ายน้ำ)





สื่่อของทุกกลุ่มที่ทำในวันนี้



ประโยชน์ที่ได้จากการอบรมการทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

- ได้แนวคิดใหม่ๆในการนำมาใช้ทำสื่อที่หลากหลาย
- ได้ลองฝึกและทำสื่อด้วยตนเอง
- ได้เห็นสื่อที่หลายหลายในแต่ละแนวคิดของเพื่อนกลุ่มอื่น
- สามารถนำวิธีการทำสื่อเหล่านี้ไปดัดแปลงใช้กับสื่ออื่นๆ
- สามารถนำสื่อที่ทำนี้ไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัย

วันจันทร์ ที่29 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ึ7

ไม่มีการเรียนการสอน

** หมายเหตุ เนื่องจากอาจารย์ให้เวลานักศึกษาในการอ่านหนังสือเตรียมสอบสำหรับการสอบกลางภาคในอาทิตย์หน้า

ค้นคว้าเพิ่มเติม
5 เคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ



1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมักจะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ (บางคน) อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น และยังพอช่วยกันฉุดได้
** แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับคนชอบแชต
2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1 รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง)
3. ผลัดกันติว ใครเข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง
4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้
5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ)

วันจันทร์ ที่22 เดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่6


ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องใน
“วันอาสาฬหบูชา”
**หมายเหตุ
อาจารย์นัดเรียนเสริม วันอาทิตย์ ที่ 28 กรกฎาคม 2556

ค้นคว้าเพิ่มเพิม
วันนี้ตรงกับ "วันอาสาฬหบูชา"




ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี 2556 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่22 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8) และวันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 23 กรกฎาคม (แรม 1 คํ่า เดือน 8)
ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8
วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45ปี
ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ
สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ
1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่
1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ
3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น


กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา



พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นอย่างนี้...

วันจันทร์ ที่15 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556


บันทึกครั้งที่5

- วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ทุกคน และพร้อมให้คำแนะนำ ในการประดิษฐ์อาจารย์ได้แบ่งออกเป็น 3 ชิ้น คือ

1.งานประดิษฐ์ของเล่น
2.งานประดิษฐ์ที่ใช้ในมุมวิทยาศาสตร์
3.งานประดิษฐ์สำหรับทดลอง

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่ 1 คือ ถุงลอย

ค้นคว้าเพิ่มเติม

การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

      วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  2 – 6  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ  การให้เหตุผล  ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  เช่น  การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช  สังเกตความสูงของพืช  และการงอกงามของพืช  เป็นต้น
       การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู  โดยการศึกษาเปรียบเทียบ  ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน  และนำไปสู่ข้อสรุปว่า  เต่ามีลักษณะอย่างไร  หนูมีลักษณะอย่างไร  (Hendrick,  1998  :  42)  ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
      การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ดร.ดินา  สตาเคิล  (Dina  Stachel)  ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ  ประเทศอิสราเอล  ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  (สตาเคิล,  2542  :  12)
                        หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
                        หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
                        หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
                        หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
          ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง  4  หน่วยดังกล่าว  เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ  ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้  หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้
                ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
                ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
                ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
                ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
                ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้
                กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง  5  ขั้น  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร  ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ  การสังเกต  การจำแนกและเปรียบเทียบ  การวัด  การสื่อสาร  การทดลอง  การสรุปและการนำไปใช้  (Brewer,  1995  :  288 - 290)
                การสังเกต  ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น  เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน  จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง  จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน
                การจำแนกเปรียบเทียบ  การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล  ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ  ถ้าเด็กเล็กมาก  เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้  การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ  เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้
                การวัด  การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด  ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร  เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้  สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้
                การสื่อสาร  ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์  เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  หรือวัด  เป็นหรือไม่  เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด  ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  อภิปรายข้อค้นพบ  บอก และบันทึกสิ่งที่พบ
                การทดลอง  เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด  เช่น  การรื้อค้น  การกระแทก  การทุบ  การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้  ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก  แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น  มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี  มีการสังเกตอย่างมีความหมาย  เช่น  การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน  เด็กจะสังเกตเห็นสีสด  สีจาง  ต่างกัน
                การสรุปและการนำไปใช้  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย
 เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์
          เด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์ในแง่ของทักษะพื้นฐาน  กระบวนการและสาระวิทยาศาสตร์เบื้องต้น  เป้าหมายสำคัญของการเรียน  คือ  (Brewer,  1995  :  290)
                1.  ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ  และปรากฏการณ์ที่มี
                2.  ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
                3.  กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น  ความสนใจ  และเจตคติของเด็กด้วยการค้นให้พบ
                4.  ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้นของตัวเด็ก
                การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนเพื่อสร้างเสริมนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการ  ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างเป็นระบบ  และศึกษาสิ่งต่าง ๆ  ด้วยการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้  และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก  (ประสาท  เนืองเฉลิม,  2545  :  20 - 26)  ในขณะเดียวกัน  กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทำให้เด็กได้พัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์และได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากสิ่งที่เด็กได้สัมผัสด้วย
 สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน
          ดังกล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และสาระวิทยาศาสตร์  ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ  ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว  ดังนี้
                1.  สาระเกี่ยวกับพืช  ได้แก่  พืช  เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่  ต้นไม้  ดอกไม้  ผลไม้  การปลูกพืช  การใช้ประโยชน์จากพืช
               2.  สาระเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่  ประเภทของสัตว์  สวนสัตว์  การเลี้ยงสัตว์
               3.  สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์  เช่น  การจม  การลอย  ความร้อน  ความเย็น
               4.  สาระเกี่ยวกับเคมี  ได้แก่  รสผลไม้  การละลายของน้ำแข็ง
               5.  สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา  ได้แก่  ดิน  ทราย  หิน  ภูเขา
               6.  สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์  ได้แก่  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาว  ฤดูกาล
                หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546  ได้กำหนดสาระทางวิทยาศาสตร์ไว้ในหลักสูตร  เรียกว่า  ธรรมชาติรอบตัว  โดยกำหนดให้เด็กเรียน  สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มีชีวิต  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ  เช่น  ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ
 หลักการจัดกิจกรรม
        ประสบการณ์วิทยาศาสตร์เป็นการสร้างเด็กให้เรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์และเนื้อหาที่เป็นวิทยาศาสตร์  หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กที่สำคัญมีดังนี้  (Seefeldt,  1980  :  236)
                1.  เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก  ประสบการณ์ที่เลือกมาจัดให้แก่เด็ก  ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก  โดยใกล้ทั้งเวลา  เหมาะสมกับพัฒนาการ  ความสนใจและประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็ก
                2.  เอื้ออำนวยให้แก่เด็กได้กระทำตามธรรมชาติของเด็ก  เด็กมีธรรมชาติที่ชอบสำรวจ  ตรวจค้น  กระฉับกระเฉง  หยิบโน่นจับนี่  จึงควรจัดประสบการณ์ที่ใช้ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้
                3.  เด็กต้องการและสนใจ  ประสบการณ์ที่จัดให้เด็กต้องสอดคล้องกับความต้องการของเด็กและอยู่ในความสนใจของเด็ก  ดังนั้นหากบังเอิญมีเหตุการณ์ที่เด็กสนใจเกิดขึ้นในชั้นเรียน  ครูควรถือโอกาสนำเหตุการณ์นั้นมาเป็นประโยชน์ในการจัดประสบการณ์ที่สัมพันธ์กันในทันที
                4.  ไม่ซับซ้อน  ประสบการณ์ที่จัดให้นั้นไม่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาซับซ้อน  แต่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาเป็นส่วนเล็ก ๆ  และจัดให้เด็กทีละส่วน  ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กส่วนใหญ่จะเป็นพื้นฐานความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา  ทั้งนี้พื้นฐานต้องเริ่มจากระดับง่ายไม่ซับซ้อนไปสู่ระดับของการสำรวจตรวจค้น  และระดับของการทดลอง  ซึ่งเป็นระดับที่สร้างความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์
                5.  สมดุล  ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้เด็กควรมีความสมดุล  ทั้งนี้เพราะเด็ก  ต้องการประสบการณ์ในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์  เพื่อจะได้พัฒนาในทุก ๆ  ด้าน  ซึ่งแม้ว่าเด็กจะสนใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต  ได้แก่  พืชและสัตว์  ครูก็ควรจัดประสบการณ์หรือแนะนำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ด้านอื่น ๆ
         กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจวิทยาศาสตร์  พัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้  เกิดความคิดสร้างสรรค์  เกิดความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น  หลักการจัดกิจกรรมมีอย่างน้อย  5  ประการ  ดังนี้  (ประสาท  เนืองเฉลิม,  2546 : 28)
                        1.  มีการกำหนดจุดประสงค์อย่างชัดเจน
                        2.  ครูเป็นผู้กำกับให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
                        3.  กิจกรรมที่จัดขึ้นสนองตอบความสนใจของเด็ก
                        4.  สอดคล้องกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน
                        5.  กิจกรรมที่จัดต้องส่งเสริมให้เด็กมีภาวะสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการคิดของเด็ก
                กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมการเรียนรู้  และพัฒนาปัญญาด้วยความสนุก  เด็กต้องได้ปฏิบัติจริงและเป็นไปได้  เด็กควรเรียนรู้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติจริงที่มีความเป็นไปได้  เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและการกระทำ  การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการเรียนรู้โดยการลงมือทำงาน  เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผู้เรียนได้ทบทวนเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง  เกิดจากมุมมองจากการได้สัมผัส  ได้รับรู้ประสบการณ์ของตน  ประสบการณ์นับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า  กระตุ้นให้เกิดการคิดและการเรียนรู้  (Burnard,  1996  :  15 - 19)  การให้เด็กทำกิจกรรมเป็นการเสริมสัมผัสและการเรียนรู้ของเด็ก  การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สำคัญต้องเน้นการคิด  การแก้ปัญหา  การแสดงออกถึงพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก  ซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรม  ต่อไปนี้
                 มีความสนใจเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ  รอบตัว
                 มีความอยากรู้อยากเห็น
                 มีพัฒนาการทางภาษาอย่างมาก
                 มีความสนใจค้นคว้าสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กสัมผัส
 ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้
                กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สามารถบูรณาการไปกับกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ศิลปะ  และภาษา  หรือนำกิจกรรมอื่น ๆ  มาประสานด้วยได้  ข้อสำคัญต้องให้เด็กได้เรียนรู้จากการสังเกตและทดลอง  ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ  3 – 4  ขวบ
                Ÿ  สังเกตสัตว์เลี้ยง  โดยให้เด็กไปดูปลา  สัมผัสแมว  ได้ลูบหมา
                Ÿ  สังเกตพืช  จำแนกส่วนประกอบของพืช  ส่วนประกอบของผลไม้  สังเกตดอกไม้  และใบไม้
                Ÿ  สังเกตรังของสัตว์ต่าง ๆ
                Ÿ  ทดลองเลี้ยงสัตว์  ให้อาหารสัตว์
                Ÿ  สังเกตสัตว์ในธรรมชาติ  เช่น  ดูนก  ดูผีเสื้อ ดูแมลง
กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ  5 – 6  ขวบ
                กิจกรรมสำหรับเด็กวัยนี้ให้มีการทดลองได้  เด็กสามารถเข้าใจมากขึ้น  รวบรวมข้อมูลเป็น  สรุปเป็น  ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของกิจกรรม
                Ÿ  จำแนกเมล็ดพืช  จำแนกใบไม้  จำแนกสิ่งต่าง ๆ  ที่หาได้
                Ÿ  สังเกตสัตว์เลี้ยง  เพื่ออธิบายลักษณะ  นิสัย  หรือวิธีการดูแล
                Ÿ  สังเกตธรรมชาติ  เช่น  กลางวัน  กลางคืน  อุณหภูมิ
                Ÿ  สังเกตการงอกของต้นไม้
                Ÿ  ทำสวนครัว  ปลูกต้นไม้
                Ÿ  ศึกษาวงจรชีวิตสัตว์ต่าง ๆ  เช่น  ตัวไหม  ผีเสื้อ  กบ
                Ÿ  ดูการฝักไข่  เก็บไข่  การปลูกเห็ด  เก็บผลไม้ต่าง ๆ
ประโยชน์จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผล  ช่วยให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  สามารถแก้ปัญหาได้  และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญา  การพัฒนาทางสติปัญญา  ไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิว  แต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาใน  2  ประการ  คือ
                1.  ศักยภาพทางปัญญา  คือ การสังเกต  การคิด  การแก้ปัญหา  การปรับตัว  และการใช้ภาษา
                2.  พุทธิปัญญา  คือ  ความรู้ความเข้าใจที่ใช้เป็นพื้นฐานของการขยายความรู้  การคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และประเมินเพื่อการพัฒนาการรู้การเข้าใจที่สูงขึ้น
          การเรียนวิทยาศาสตร์  เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา  และพุทธิปัญญา  จากการทำกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์  สิ่งที่เด็กได้จากกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมีอย่างน้อย  4  ประการ  คือ
                1.  ความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์
                2.  ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน  เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท
                3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ
                4.  การสรุปข้อความรู้  หรือมโนทัศน์จากการสังเกต  และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง
 ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง                                 การปรุงอาหาร
สำหรับ                             เด็กอายุ  5 – 6  ขวบ
มโนทัศน์การเรียนรู้            การปรุงอาหารเกิดจากการผสมส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างถูกต้องตามชื่ออาหารนั้นให้ได้รสที่ต้องการ
ผลลัพธ์การเรียนรู้              ปรุงอาหารเป็น รู้จักรสอาหาร  เช่น  เค็ม  เปรี้ยว  หวาน สนุกกับการทำงานร่วมกับเพื่อน
สิ่งที่เด็กต้องปฏิบัติ             ช่วยกันวางแผนปรุงอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งที่กลุ่มเลือก  และช่วยกันปรุงอาหารนั้น
อุปกรณ์ที่เตรียม                 เครื่องปรุง จาน ชาม  ช้อนสำหรับใส่อาหารเครื่องครัวเท่าที่ต้องการ
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                Ÿ  ครูทักทายเด็ก  และสนทนาเรื่องอาหารการกิน
                Ÿ  ครูบอกกิจกรรมและจุดประสงค์ของกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
                1.  ครูให้เด็กช่วยกันเลือกอาหารที่ตนเองชอบและต้องการปรุง  (ครูอาจมีตัวเลือก  2 – 3  อย่าง  ที่เป็นอาหารกลุ่มเดียวกัน  เพื่อความสะดวกในการเตรียมเครื่องปรุง  เช่น ส้มตำ  สลัดผัก  แซนวิช  เป็นต้น)
                2.  ให้เด็กแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำ
                3.  เสร็จแล้วให้วางแผนร่วมมือกันพร้อมปรุงอาหารที่เลือก
                4.  แบ่งปันกลุ่มอื่นรับประทานอาหารร่วมกัน
ข้อสรุปบทเรียน
                1.  อภิปรายกลุ่มใหญ่เรื่องปัญหาการปรุงอาหารและการช่วยเหลือกัน
                2.  สรุปผลการปรุงอาหารว่าใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ใด
                3.  อาหารที่ปรุงมีรสอะไรบ้าง
การประเมินภาพการเรียนรู้
                Ÿ  สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
         ตัวอย่างกิจกรรมอาหาร  เป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เด็กชอบมากเนื่องจากคุ้นเคยอยู่กับบ้านเป็นกิจวัตรที่เด็กทุกคนสนใจและต้องการทำ  ในการจัดกิจกรรมอาหารนี้  ควรใช้กลุ่มเล็ก  เพื่อความปลอดภัย  และสามารถสนทนาในรายละเอียดเวลารับประทานร่วมกัน  เด็กจะเกิดมโนทัศน์  เรื่องอาหาร  เช่น  ประโยชน์ของอาหารต่อร่างกาย  และเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามจุดประสงค์ของกิจกรรม  นอกจากนี้การรับประทานอาหารด้วยกันยังเป็นการฝึกให้เด็กช่วยตนเองในการรับประทานอาหาร  เช่น  ตักอาหาร  และทำอาหารง่าย ๆ
สรุป
         กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เป็นการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย  2  ประการ  คือ  การฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรมชาติรอบตัวที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน  โดยเน้นการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  คือ 1)  การสังเกต  2)  การจำแนกเปรียบเทียบ  3)  การวัด  4)  การสื่อสาร  5)  การทดลอง  และ  6)  การสรุปและนำไปใช้  สิ่งที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์คือ  การสร้างให้เด็กมีนิสัยการค้นคว้า  การสืบค้น  และการทำความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว  รู้จักวิธีการค้นหาความรู้อย่างนักวิทยาศาสตร์  โดยการพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ในขณะเดียวกันเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวไปด้วย
แหล่งอ้างอิง
            กุลยา  ตันติผลาชีวะ.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.  กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊คส์, 2551

วันจันทร์ ที่8 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 4

- อาจารย์ให้พับกระดาษแบ่งออกเป็น 8 แผ่น แล้วก็วาดรูปที่มุมกระดาษ โดยให้เราวาดตามจินตนาการและให้สังเกตว่าภาพที่เราวาดนั้นเคลื่อนไหวได้อย่างไร
- ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์
วิธีการนำเสนอ
นำเสนอโดยวิธีการทำให้เห็นหรือแสดงให้ดู ให้เราเห็นวิธีการทดลองและผลการทดลองเป็นอย่างไร
อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น แต่อากาศจะแทรกตัวอยู่ทุกๆที่ รอบๆ ตัวเรา
สมบัติของอากาศ
1.ความหนาแน่นของอากาศ
2. ความดันของอากาศ
3.อุณหภูมิของอากาศ
4.ความชื้นของอากาศ
อากาศมีทั้งอากาศร้อนและอากาศเย็น ซึ่งอากาศร้อนจะมีน้ำหนักเบากว่าอากาศเย็น อากาศจะมีการปรับสมดุลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “ลม”
ลมคือ อากาศที่เคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศ เป็นผลเนื่อง จากความแตกต่างของอุณหภูมิสองแห่ง หรือความแตกต่างของความกดอากาศสองแห่ง โดยลม จะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง เข้าสู่บริเวณที่มี ความกดอากาศต่ำ โดยกระแสการไหลของลมจะหยุด หรือความดันของสองจุดมีค่าเท่ากัน อย่างไรก็ตามการ ไหลของลมจะเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากปรากฏการณ์ โคริโอลิส
- อาจารย์ให้ออกไปPresent “ของเล่นวิทยาศาสตร์” ของแต่ละคน (ซึ่งของดิฉันอาจารย์ให้ไปหามาใหม่ พร้อมบอกด้วยว่าของเล่นวิทยาศาสตร์ที่นำมามีConcept อย่างไร หลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างไร)
งานที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์ให้ไปศึกษาว่าทำไมเวลาเราเคลื่อนไหวอะไรเร็วๆ ภาพถึงเคลื่อนไหวหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ
ค้นคว้าเพิ่มเติม
สต็อปโมชั่น
สตอปโมชัน (Stop motion) เป็นแอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วน ประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิดๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมๆ
สตอปโมชัน มีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
1.เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation –เรียกย่อๆ ว่า เคลย์เมชั่น /claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
2.คัตเอาต์แแอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
3.กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่างๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
4.โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและแบ็คกราวด์เหมือนจริง
5.แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
6.พิกซิลเลชั่น (Pixilation)
เป็นสต็อปโมชั่นที่ใช้คนจริงๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ

วันจันทร์ ที่27 เดือนกรกฏาคม พ.ศ.2556


ครั้งที่3

- วันนี้อาจารย์ได้กลับมาสรุปเนื้อหาในเรื่องของวิทยาศาสตร์อีกครั้ง โดยครั้งนี้
อาจารย์ได้แยกออกมาเป็นหัวข้อให้เห็นได้ชัดขึ้นในรูปของ Mind Mappingส่วนของเนื้อหาที่พิมพ์ลงไปนั้นอาจารย์จะถามนักศึกษาและเอาคำตอบจากของนักศึกษาเป็นเนื้อหาในแต่ละหัวข้อนั้นๆ


- อาจารย์ได้พูดถึงการดู CD เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ ว่าเนื้อหาเป็นอย่างไรพร้อมกับสรุปให้นักศึกษาฟัง หลังจากสรุปเรื่องนี้เสร็จ
- อาจารย์ให้ดู CD เรื่อง คือ เรื่องความลับของแสง
ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอเรื่อง ความลับของแสง
แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย
ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือน ถ้าหากคลื่นแสงยิ่งมีความสั่นสะเทือนมากก็จะยิ่งมีความถี่มากแต่ความยาวคลื่นก็จะยิ่งน้อย โดยแสงที่เรามองเห็นได้นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในระดับที่ดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปกติแล้วแสงจะเคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที
จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสงได้ดังนี้
วัตถุโปร่งใส คือวัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
วัตถุโปร่งแสง คือวัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
วัตถุทึบแสง คือวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย
สมบัติพื้นฐานของแสง
ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง
ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปสีของแสง
โพลาไรเซชัน ( มุมการสั่นของคลื่น) ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้
วิธีการนำเสนอ
นำเสนอโดยวิธีการทำให้เห็นหรือแสดงให้ดู ให้เราเห็นวิธีการทดลองและผลการทดลองเป็นอย่างไร
- อาจารย์อธิบายสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ให้ดูนี้สอนเกี่ยวกับเรื่องอะไร
ประยุกต์ใช้อย่างไร
- นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสิ่งรอบตัวและปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น
งานที่ได้รับมอบหมาย
- ให้นักศึกษาคิดสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุที่เหลือใช้ มา 1 ชิ้น
- ให้เก็บใบไม้ 1 ใบ และทำให้แห้ง

วันจันทร์ ที่ 24 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่2

อาจารย์ได้ให้จับกลุ่ม 6 คน แล้วนั่งให้เป็นวงกลมกระจายไปรอบๆห้อง
- อาจารย์ได้ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกไปรับเนื้อหาที่จะให้ศึกษาในวันนี้ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หลังจากได้เนื้อหาครบทุกกลุ่มแล้วอาจารย์ได้ให้เวลา 30 นาที เพื่อศึกษาและสรุป โดยเนื้อหาทั้งหมดมี 6 เรื่องดังนี้
1.ความหมายของวิทยาศาสตร์
2.ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
3.แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
4.กระบวนการวิทยาศาสตร์และผลผลิต
5.พัฒนาการสติปัญญา
6.การเรียนรู้
เมื่อหมดเวลาแล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มเลือกตัวแทน 1 คนเพื่อให้เผยแพร่ข้อมูลแก่กลุ่มอื่นโดยจะกำหนดให้ว่าแต่ละกลุ่มนั้นได้หัวข้อเรื่องอะไร อาจารย์ให้สรุปข้อที่เหมือนและแตกต่างกัน จากนั้นก็ให้ออกมานำเสนอ ซึ่งการออกมานำเสนอนั้นแต่ละกลุ่มโดนแก้ไขหมดและให้ทำส่งและนำมาเสนอใหม่ในอาทิตย์หน้า

- อาจารย์ได้ให้ดู CD พร้อมสรุป เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอเรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำน้ำ เป็นของเหลวชนิดหนึ่ง ที่มีอยู่มากที่สุดบนผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มนุษย์รู้จัก เราสามารถพบน้ำได้ในหลายๆ สถานที่ อาทิ ทะเล ทะเลสาบ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง และในหลายๆ รูปแบบ เช่น น้ำแข็ง หิมะ ฝน ลูกเห็บ เมฆ และไอน้ำ
น้ำมีรูปแบบและสถานะเป็นของเหลว แต่น้ำก็ยังมีในรูปของสถานะของแข็งที่เรียกว่าน้ำแข็ง และสถานะแก๊สที่เรียกว่าไอน้ำ น้ำปริมาณประมาณ1.460 เพตะตัน ปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก ส่วนมากในมหาสมุทรและในแหล่งน้ำแห่งใหญ่ทั่วไป น้ำ 1.6% อยู่ภายใต้หินหรือพื้นดินที่ยังมีน้ำแข็งอยู่ และอีก 0.001% อยู่ในอากาศในรูปแบบของไอน้ำและก้อนเมฆซึ่งเป็นลักษณะของส่วนของของแข็งและของเหลวลอยอยู่บนอากาศและเกิดการตกตะกอน น้ำบนโลกบางส่วนถูกบรรจุลงในสิ่งของต่าง ๆ ที่เกิดโดยธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นบนโลก อย่างเช่น อ่างเก็บน้ำ ในร่างกายของสัตว์และพืช ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และร้านอาหาร
น้ำในมหาสมุทรมีอยู่มากถึง 97% ของพื้นผิวน้ำทั้งหมดบนโลก ธารน้ำแข็งและน้ำแข็งขั้วโลกอีก 2.4% และที่เหลือคือน้ำที่อยู่บนพื้นดินเช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ บ่อน้ำ อีก 0.6% น้ำเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องผ่านจักรของการกลายเป็นไอหรือการคายน้ำ การตกลงมาเป็นฝน และการไหลของน้ำซึ่งโดยปกติจะไหลไปสู่ทะเล ลมเป็นตัวพาไอน้ำผ่านเหนือพื้นดินในอัตราที่เท่า ๆ กันเช่นเดียวกับการไหลออกสู่ทะเล น้ำบางส่วนถูกกักขังไว้เป็นเวลาหลายยุคหลายสมัยในรูปแบบของน้ำแข็งขั้วโลก ธารน้ำแข็ง น้ำที่อยู่ตามหินหรือดิน หรือในทะเลสาบ บางครั้งอาจมีการหาน้ำสะอาดมาเลี้ยงสิ่งมีชีวิตบนพื้นดิน น้ำใสและสะอาดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
น้ำมีสมบัติเป็นตัวทำละลายที่ดีมาก เราจึงไม่ค่อยพบน้ำบริสุทธิ์ในธรรมชาติ ดังนั้นน้ำสะอาดที่เหมาะสมต่อการบริโภคของมนุษย์ จึงเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง ในบางประเทศปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสังคม และเศรษฐกิจของประเทศนั้นอย่างกว้างขวาง
วิธีการนำเสนอ
นำเสนอโดยวิธีการทำให้เห็นหรือแสดงให้ดู ให้เราเห็นวิธีการทดลองและผลการทดลองเป็นอย่างไร

ประยุกต์ใช้อย่างไร
- นำไปประยุกต์ใช้ในการอ่านหนังสือให้เร็วขึ้นและในการสรุปนั้นต้องสรุปให้ได้ใจความไม่ใช่การลอกข้อความยาวๆมาแต่ต้องเป็นข้อความที่สรุปจากความเข้าใจของตนเอง
- ได้หลักการสอนวิทยาศาสตร์ให้สนุก ไม่น่าเบื่อ ด้วยการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น การทดลอง

งานที่ได้รับมอบหมาย
- อาจารย์ให้ทุกกลุ่มต้องนำเสนอใหม่ในสัปดาห์หน้า

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ ที่17 เดือนมิถุนายน 2556

บันทึกครั้งที่1

- วันนี้เรียนเป็นคาบแรกอาจารย์ได้ปฐมนิเทศเกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนพร้อมสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนวิชานี้
- อาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาทำบล๊อคเหมือนเดิมโดยในรายละเอียดของบล๊อคต้องมีเนื้อหาที่เป็นภาษาอังกฤษแทรกอยู่ด้วย
- อาจารย์สอนในวันนี้ คือ เรื่องของพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตามด้วยเรื่องของ การจัดประสบการณ์ และเรื่องของวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย
- อาจารย์ยังสอนการทำ Mind Mapping ลงบล๊อคและได้ให้ไปบันทึกบล๊อคพร้อมกับมาลิงค์ในสัปดาห์หน้า
- อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับวิชาเรียนไว้ดังนี้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เมื่อมีการจัดประสบการณ์คือการลงมือในการสอน ภาษาและวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ คือ เนื้อหา ทฤษฎี การทดลอง ประดิษฐ์ ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต สายลม แสงแดด อาหาร กระบวนการต่างๆ
พัฒนาการ คือ ช่วงอายุ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอน เป็นตัวบ่งบอกว่าในช่วงอายุนั้นเด็กทำอะไรได้บ้าง
จัดละประเมินผลเด็ก การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการสัมพันธ์กับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
วิทยาศาสตร์เป็นพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ตาสมรูปแบบการจัดประสบการณ์
มาตรฐาน ตัวชี้วัด คุณภาพ การประเมิน สาระการเรียนรู้
มาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เนื้อหา สาระการเรียนรู้ มาจากหลักสูตร จะบอกสิ่งที่เด็กควรได้รับ ออกแบบการวางแผนจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ผลลัพธ์ควรเรียนรู้
1. การสื่อสาร
2. ตรงต่อเวลา
3. การแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
4. เคารพกฎระแบบ
5. ให้ความเคารพต่อครู อาจารย์
ทักษะทางปัญญา
1. คิดวางแผนอย่างเป็นระบบ
2. ประยุกต์เพื่อนำมาใช้ออกแบบ
3. ทักษะความคิดเห็นระหว่างบุคคล
4. ใช้ภาษาในการสื่อสารถูกต้อง
การวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยี
ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ เพื่อศึกษาค้นคว้าเลือกใช้ช่องทางในการสื่อสารและแนะนำเสนออย่างเหมาะสม
การจัดการเรียนรู้
การวางแผน ออกแบบ ปฏิบัติการสอน
หลักการเรียนต้องรู้จัก
1. องค์ความรู้ได้หรือไม่ อย่างไร
- ได้รู้เกี่ยวกับความหมายของพัฒนาการ
- ได้รู้เกี่ยวกับเรื่องของสาระการเรียนรู้
- ได้รู้เกี่ยวกับแนวการสอน การจัดประสบการณ์ วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
- ได้รู้วิธีการทำ Mind Mapping2. มีทักษะอะไร
2.ได้ทักษะอะไร
- ได้ทักษะการใช้เทคโนโลยีกับการเรียน
- ได้ทักษะการคิดและวิเคราะห์
- ได้ทักษะใช้ภาษา
3. จะประยุกต์ใช้อย่างไร
- นำไปประยุกต์ใช้โดยการบันทึกข้อมูลในคาบเรียนแล้วนำมาถ่ายทอดด้วยบล๊อคที่สร้างขึ้นมาเพื่อจะนำความรู้นี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและการจัดประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับในเรื่องนี้