วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ ที่8 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 4

- อาจารย์ให้พับกระดาษแบ่งออกเป็น 8 แผ่น แล้วก็วาดรูปที่มุมกระดาษ โดยให้เราวาดตามจินตนาการและให้สังเกตว่าภาพที่เราวาดนั้นเคลื่อนไหวได้อย่างไร
- ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์
วิธีการนำเสนอ
นำเสนอโดยวิธีการทำให้เห็นหรือแสดงให้ดู ให้เราเห็นวิธีการทดลองและผลการทดลองเป็นอย่างไร
อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น แต่อากาศจะแทรกตัวอยู่ทุกๆที่ รอบๆ ตัวเรา
สมบัติของอากาศ
1.ความหนาแน่นของอากาศ
2. ความดันของอากาศ
3.อุณหภูมิของอากาศ
4.ความชื้นของอากาศ
อากาศมีทั้งอากาศร้อนและอากาศเย็น ซึ่งอากาศร้อนจะมีน้ำหนักเบากว่าอากาศเย็น อากาศจะมีการปรับสมดุลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “ลม”
ลมคือ อากาศที่เคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศ เป็นผลเนื่อง จากความแตกต่างของอุณหภูมิสองแห่ง หรือความแตกต่างของความกดอากาศสองแห่ง โดยลม จะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง เข้าสู่บริเวณที่มี ความกดอากาศต่ำ โดยกระแสการไหลของลมจะหยุด หรือความดันของสองจุดมีค่าเท่ากัน อย่างไรก็ตามการ ไหลของลมจะเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากปรากฏการณ์ โคริโอลิส
- อาจารย์ให้ออกไปPresent “ของเล่นวิทยาศาสตร์” ของแต่ละคน (ซึ่งของดิฉันอาจารย์ให้ไปหามาใหม่ พร้อมบอกด้วยว่าของเล่นวิทยาศาสตร์ที่นำมามีConcept อย่างไร หลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างไร)
งานที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์ให้ไปศึกษาว่าทำไมเวลาเราเคลื่อนไหวอะไรเร็วๆ ภาพถึงเคลื่อนไหวหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ
ค้นคว้าเพิ่มเติม
สต็อปโมชั่น
สตอปโมชัน (Stop motion) เป็นแอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วน ประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิดๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมๆ
สตอปโมชัน มีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
1.เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation –เรียกย่อๆ ว่า เคลย์เมชั่น /claymation)
คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
2.คัตเอาต์แแอนิเมชัน (Cutout animation)
สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
3.กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่างๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
4.โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและแบ็คกราวด์เหมือนจริง
5.แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
6.พิกซิลเลชั่น (Pixilation)
เป็นสต็อปโมชั่นที่ใช้คนจริงๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น