วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย
เรื่อง 
ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อพัฒนาการของพฤตกรรมด้านสังคม 
ของเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยที่มีความตองการพิเศษในห้องเรียนรวม 

การสร้างคนคือการสร้างชาติ การสร้างคนให้มีคุณธรรมนําความรู้นั้น ต้องเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย

การมีความรู้ การเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมที่มีคุณภาพตั้งแต่วัยเด็ก จะเป็นรากฐานที่สําคัญของการเรียนรู้
ในวัยต่อมาและเป็นการเริ่มตนที่ดี การสร้างคนที่มีทั้งความดี ความเก่ง และมีความสุข เป็นคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการสําคัญที่ถือว่าเป็นรากฐานของการพัฒนาทางด้านสติปัญญา
แต่ถ้าหากเด็กมีความบกพร่องในการรับรู้แล้ว ก็จะบกพร่องในด้านของการเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย อุปสรรค
ของการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยเกิดจากสภาพความผิดปกติของร่างกาย
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการต่อพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปกติและ
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ


ความสําคัญของการวิจัย ผลจากการวิจัยครั้งนี้จะทําให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยที่มี
การเรียนร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อเป็นแนวทาง
สําหรับผู้ที่มีบทบาทในการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยรวมถึงผู้ที่มีความสนใจ นําไปใช้เป็นแนวทาง
ในการจัดการเรียนร่วมในระดับปฐมวัยต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่อยู่ในห้องเรียนร่วม จํานวน 30 คน โดยแบ่งเป็น
เด็กปฐมวัยปกติ ชาย – หญิง จํานวน 25 คน และเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ชาย – หญิง
จํานวน 5 คน อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2551 ของโรงเรียนเกษมพิทยา สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช่ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่อยู่ในห้องเรียนร่วม อายุระหว่าง 5-6 ปี
จํานวน 15 คน ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียน
เกษมพิทยา สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ซึ่งมีขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1 ห้องเรียน
จากจํานวน 2 ห้องเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
2. แบบสังเกตพัฒนาการของพฤติกรรมด้านสังคม

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระได้แก่ การจัดประสบการณแบบโครงการ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมด้านสังคม

กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยเพื่อสังเคราะห์เป็นกรอบ
แนวคิดในการทําวิจัย ที่ส่งเสริมพัฒนาการของพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยที่มี
ความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ซึ่งการจัดประสบการณ์
แบบโครงการเป็นรูปแบบนวัตกรรมการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ค้นพบศักยภาพของตนเองและ 8
เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ผ่านกระบวนการเลือกหัวเรื่องที่เด็กสนใจ

สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมมีระดับพัฒนาการ
ของพฤติกรรมด้านสังคมสูงขึ้นหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น