วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย
เรื่อง 
ผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อพัฒนาการของพฤตกรรมด้านสังคม 
ของเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยที่มีความตองการพิเศษในห้องเรียนรวม 

การสร้างคนคือการสร้างชาติ การสร้างคนให้มีคุณธรรมนําความรู้นั้น ต้องเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย

การมีความรู้ การเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมที่มีคุณภาพตั้งแต่วัยเด็ก จะเป็นรากฐานที่สําคัญของการเรียนรู้
ในวัยต่อมาและเป็นการเริ่มตนที่ดี การสร้างคนที่มีทั้งความดี ความเก่ง และมีความสุข เป็นคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัย
การเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการสําคัญที่ถือว่าเป็นรากฐานของการพัฒนาทางด้านสติปัญญา
แต่ถ้าหากเด็กมีความบกพร่องในการรับรู้แล้ว ก็จะบกพร่องในด้านของการเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย อุปสรรค
ของการเรียนรู้ในเด็กปฐมวัยเกิดจากสภาพความผิดปกติของร่างกาย
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการต่อพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยปกติและ
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ


ความสําคัญของการวิจัย ผลจากการวิจัยครั้งนี้จะทําให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยที่มี
การเรียนร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อเป็นแนวทาง
สําหรับผู้ที่มีบทบาทในการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยรวมถึงผู้ที่มีความสนใจ นําไปใช้เป็นแนวทาง
ในการจัดการเรียนร่วมในระดับปฐมวัยต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่อยู่ในห้องเรียนร่วม จํานวน 30 คน โดยแบ่งเป็น
เด็กปฐมวัยปกติ ชาย – หญิง จํานวน 25 คน และเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ชาย – หญิง
จํานวน 5 คน อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2551 ของโรงเรียนเกษมพิทยา สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช่ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยที่อยู่ในห้องเรียนร่วม อายุระหว่าง 5-6 ปี
จํานวน 15 คน ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียน
เกษมพิทยา สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ซึ่งมีขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 1 ห้องเรียน
จากจํานวน 2 ห้องเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ
2. แบบสังเกตพัฒนาการของพฤติกรรมด้านสังคม

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระได้แก่ การจัดประสบการณแบบโครงการ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมด้านสังคม

กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎี งานวิจัยเพื่อสังเคราะห์เป็นกรอบ
แนวคิดในการทําวิจัย ที่ส่งเสริมพัฒนาการของพฤติกรรมด้านสังคมของเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยที่มี
ความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ ซึ่งการจัดประสบการณ์
แบบโครงการเป็นรูปแบบนวัตกรรมการสอนที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ค้นพบศักยภาพของตนเองและ 8
เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ผ่านกระบวนการเลือกหัวเรื่องที่เด็กสนใจ

สมมติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยปกติและเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษในห้องเรียนร่วมมีระดับพัฒนาการ
ของพฤติกรรมด้านสังคมสูงขึ้นหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 18

-ได้มีการนำของเล่นเข้ามุมทั้งหมดที่นักศึกษาทุกคนได้ทำ มาจัดเป็นหมวดหมู่เดียวกัน (แสง แม่เหล็ก แรงเสียดทาน การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ เสียง )
-ในการทำของเล่นเข้ามุมต้องมีการบอกว่าเด็กเล่นแล้วจะได้อะไร มีหลักการหรือแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายให้เด็กเข้าใจง่าย แล้วสามารถจับคอบเซปได้ว่าเป็นเรื่องอะไร










วันจันทร์ที่23 กันยายน 2556

บันทึกครั้งที่17

-อาจารย์ตฤณให้นักศึกษาปฏิบัติสาธิตการทำต้มจืด(บทบามสมมติ มีคุณครูผู้สอนและให้นักศึกษาที่เหลือเป็นนักเรียน)




































โดยมีกระบวนการสอนดังนี้
1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา(เด็กตอบ)พอเด็กตอบก็มีการวางเรียงของจากซ้ายไปขวาใหม่(ได้เรื่องคณิตศาสตร์)
2.เด็กๆเก่งมากเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง(เด็กตอบ)
3. วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ(เด็กตอบ)
4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ
5.ขณะที่รอ น้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไรแล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมัน อันตรายและอาจเกิดอุบัติเหตุได้
6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป ตอนนี้หมูเป็นสีอะไรอยู่คะ(ได้ทักษะการสังเกต)เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ
7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร(ได้สังเกต)
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก
9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาติช่วยคุณครูบ้างคะ
10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?

วันจันทร์ที่16 กันยายน พ.ศ.2556

บันทึกครั้งที่16

อาจาร์ยตฤน ให้ทำ Mind Mapping ในการทำ Cooking
ขั้นแรก ให้แต่ะละกลุ่มเลือกแจกแจงเรื่องอาหาร ว่ามีไรบ้าง
ขั้นที่สอง เลือกเมนูของแต่ละกลุ่มว่าจะทำอะไร กลุ่มของดิฉันเลือกทำแกงจืด เนื้อหาใน Map มี อุปกรณ์ ส่วนประกอบ ประโยชน์ วิธีทำ
ขั้นที่สาม จากนั้นก็เขียนขั้นตอนวีธีทำแกงจืด
ขั้นที่สี่ เขียนแผนในเรื่องการสอนทำ Cooking แกงจืด
วัตถุประสงค์
1. เด็กสามารถบอกส่วนผสมและสังเกตวัตถุของแกงจืด
2. เด็กสามารถบอกความเปลี่ยนแปลงของวัตถุก่อนและหลังทำได้
สาระสำคัญ
1. เด็กรู้ประโยชน์ของแกงจืด 2. เด็กได้รู้ส่วนผสมและวิธีการทำแกงจืด
วิธีการ
ขั้นนำ - ครูนำเด็กเข้าสู่บทเรียนด้วยเรื่องผัก
- ครูถามคำถามเด็กเกี่ยวกับอาหารที่เด็กชอบ
ขั้นสอน - ครูถามคำถามเด็กว่าเห็นอุปกรณ์อะไรบ้างและเราจะนำมาทำอะไร
- ครูแนะนำอุกรณ์และสร้างข้อตกลงกับเด็กร่วมกันในการทำอาหาร
- ครูและเด็กร่วมกันทำแกงจืดสีรุ้ง
ขั้นสรุป - ครูและเด็กร่วมกันพูดถึงประโยชน์ของผัก
- ครูและเด็กร่วมกันสรุปส่วนผสมของแกงจืดและบอกความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังทำ
- เด็กทำความสะอาดอุปกรณ์และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
สื่อ อุปกรณ์ต่างๆ ส่วนผสมแกงจืด และเพลง
ประเมิน - สังเกตการบอกเล่าวัตถุของเด็ก และสังเกตการบอกวัตถุถึงการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังทำ


หลังจากนั้นให้ทุกกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าห้องเรียน



บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย


วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ ที่27 เดือนกันยายน พ.ศ. 2556


บันทึกครั้งที่ 15

วันนี้กลุ่มของดิฉันได้สาธิตการทำแกงจืด โดยทำตามแผนที่เขียนไว้ในสัปดาห์ก่อน




อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร 
  • กะทะไฟฟ้า
  • ทับพีขาว
  • มีด
  • เขียง
  • น้ำดื่มสะอาด
  • เกลือ
  • ซีอิ๊วขาว
  • เต้าหู้ไข่
  • วุ้นเส้น
  • แครอท
  • หมูสับ
  • ผักกาดขาว
  • ต้นหอม
  • ผักชีฝรั่ง
  เข้าสู่กิจกรรม



รอน้ำเดือด



ขออาสาสมัครออกมาช่วยทำอาหาร



แกงจืดพร้อมรับประทาน

กิจกรรมในวันนี้ได้รับความรู้จากอาจารย์ วิธีการสอนการพูดคุยให้เด็กเข้าใจได้ง่ายๆ และได้ปฏิบัติกิจกรรมในห้องเรียนจริงๆทำให้มีความรู้ และสนุกสนาน สาามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาด้วยกัน บรรยากาศในห้องวันนี้เพื่อนๆให้ความสนใจในการประกอบอาหารดีมาก